กรรม |
กรรมในพระพุทธศาสนา (ภาษาสันสกฤต : กรฺม, ภาษาบาลี : กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่มีด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม
แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมในทางพระพุทธศาสนาจะเชื่อว่ากระทำเช่นไรจะได้รับผลเช่นนั้นอย่างยุติธรรม โดยการให้ผลของกรรมหรือวิบากกรรมสามารถให้ผลข้ามภพข้ามชาติได้ ถ้ายังไม่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดคือนิพพาน โดยถือว่าจิตวิญญาณมิได้สิ้นสุดเพียงแค่การตายเหมือนแนวคิดวัตถุนิยมที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ แต่พระพุทธศาสนาเชื่อว่าถ้ายังมีกิเลสจะต้องกลับมาเกิดใหม่ ชาวพุทธมีความเชื่อว่าแม้แต่โลกฝ่ายวัตถุที่มีการสูญสลาย เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันยังต้องสร้างกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อลงโทษผู้เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นจะได้อยู่กันอย่างผาสุก แล้วในโลกแห่งจิตวิญญาณที่เหล่าสรรพสัตว์อยู่ร่วมกัน มันย่อมต้องมีกฎที่ยุติธรรมที่สุดและเป็นกฎธรรมชาติ ที่มีผลเสมอต่อทุกสรรพชีวิตที่ต้องรับผลจากการกระทำของตนเองที่กระทำลงไปแล้วมีผลต่อเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย เพื่อมิให้มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันแต่ฝ่ายเดียว เช่นเดียวกฎหมายบ้านเมืองของโลกฝ่ายวัตถุ ซึ่งนั้นก็คือกฎแห่งกรรม
กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
กรรม 2
กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed)
1. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)
2. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)
การจำแนกประเภทของกรรม
กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
- กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ 4 อย่าง
จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
1 ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
2 อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
3 อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
4 อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
สภาวะเหนือกรรม
เป็นสภาวะสุดยอดแห่งการปฏิบัติ
เป็นสภาวะสุดยอดแห่งการปฏิบัติ
โดยปกติแล้วเราแบ่งกรรมหรือกรกระทำออกเป็นหลักใหญ่ๆ
คือ กรรมดี และ กรรมชั่วตามหลักพระพุทธศาสนา
เมื่อกระทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรมเยี่ยงนั้นธรรมดา หรือที่เรียกว่า กรรมวิบาก
(ผลของกรรม) หรือแม้แต่จะพิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์อันเป็นไปตามธรรมชาติ
เช่นกันก็ตามที ดังเช่นหลักฟิสิกส์ในเรื่องแรง กล่าวคือมีแรงอะไรเกิดขึ้นที่เรียกกันว่าแรงกริยา
ก็ย่อมต้องมีผลออกมาเป็นแรงปฏิกริยาเกิดขึ้นเสมอนั่นเอง ต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ อันเป็น สังขตธรรม ที่เป็นจริงแท้แน่นอนเหมือนกัน
กล่าวคือเที่ยงแท้และคงทนต่อทุกกาลเยี่ยงนี้
ทั้งในเรื่องกรรมและเรื่องแรงกริยา
เพียงแต่ว่าวิบากของกรรม
หรือผลของกรรมนี้ไม่สนองออกมาก เป็นสูตรสำเร็จหรือเป็นกฎเป็นเกณฑ์ดัง ๑+๑ = ๒
พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงจัดวิบากแห่งกรรมเป็นอจินไตย ดังตรัสไว้ในอจิตคติสูตร
กล่าวคือไม่สามารถทำนาย หรือรู้ผลอย่างตรงๆ
เพียงแต่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เหตุเพราะยังไปเนื่องสัมพันธ์กับเหตุปัจจัยอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบร่วมอีกเป็นจำนวนมาก
จึงมีทิศทางที่เบี่ยงเบนหรือสนองกลับที่ต่างกันไปบ้าง แต่เกิดผลของกรรมอย่างแน่นอน ขอยกตัวอย่างเป็นไปในทางโลกๆ
เพื่อให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง ดังเช่น ใส่แรงกริยาให้ลูกบอลโดยการปาเข้าใส่กำแพง เมื่อเกิดผลคือการปะทะกำแพงแล้วย่อมเกิดผลของกรรมจากการปะทะกำแพงคือแรงปฏิกริยา ทำให้กระเด้งกลับมาเป็นธรรมดาหรือ ตถตา ไม่เป็นอื่นไปได้ แต่ะครั้ง แต่ละคน
ที่ปา ขอให้สังเกตทิศทางของการกระเด้งหรือผลของกรรมที่กลับมาว่าเป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นแล้ว จึงมีอาการแปรปรวนไปมาตามเหตุปัจจัยต่างๆ
อันเป็นองค์ประกอบร่วม ดังเช่น ความแรงเบาในการปา ความนุ่ม,แข็งของลูกบอล
มุมที่เข้าตกกระทบ วัสดุที่กระทบ ความชำนาญ บุคคลที่ปา แรงลม ฯลฯ.
ล้วนแล้วก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนขึ้นได้บ้างเท่านั้น
แต่ล้วนแล้วแต่ต้องมีแรงปฏิกิริยาหรือแรงโต้ตอบกลับทั้งสิ้น หรือมีวิบากของกรรมหรือผลของการกระทำเกิดขึ้นอย่างแน่นอน กรรมวิบากก็เป็นเฉกเช่นนั้นแล ด้วยเหตุดังนี้จึงเป็นอจินไตย
จึงไม่สามารถพยากรณ์ออกมาเป็นสุตรสำเร็จได้ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง
แต่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ที่ทำกรรมชั่ว
ก็ต้องรีบแก้ไขเพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของวิบาก
ไปในทางที่ดีเกิดขึ้นนั่นเอง กล่าวคือ จะไปห้ามไม่ให้เกิดวิบาก ของกรรมเสียย่อมไม่ได้
แต่ทำให้เบี่ยงเบนไปเสียนั้น พึงกระทำได้ด้วยตนเอง
ดังนั้นปุถุชนทำกรรรมดีหรือชั่ว
ก็ย่อมเสวยวิบากกรรมตามนั้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นสภาวธรรมอันเที่ยงตรง เป็น อสังขตธรรมอันเที่ยงตรงและคงทนต่อทุกกาลนั่นเอง ดุจเดียวดั่งการทำการปลูกข้าว
ย่อมได้ข้าวเป็นผลของกรรม(การกระทำ)เป็นส่วนแรก ย่อมไม่ได้เผือก มัน องุ่นต่างๆ อันย่อมเป็นไปไม่ได้ และดังที่กล่าวว่าเป็น อจินไตย อีกส่วนของผลการกระทำจึงแสดงออกมาก็คือได้ผลที่ไม่เท่ากัน
อันขึ้นกับเหตุปัจจัยดังที่กล่าวแล้วมาเบี่ยงเบนร่วมด้วยนนั้นเอง เช่น
ความขยันหมั่นเพียร การดูแล การใส่ปุ๋ยต่งกันเป็นต้น
แต่ล้วนต้องได้ข้าวอย่างจริงแท้แน่นอนทั้งนั้น จะผันแปรเป็นอื่นไม่ได้ เป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา
หรือ ปฏิจจสมุปบันธรรม กรรมวิบากก็เป็นเช่นนั้นแล
เหตุที่แสดงนี้เพราะปัจจุบันนี้มีการสื่อสารต่างๆ
อย่างมากมาย จึงทำให้รู้เห็นได้อย่างกว้างขวาง
รุ้เห็นเป็นไปในโลกและบุคลต่างๆ อันมีทั้งดีและชั่วเป็นธรรมดา จนแลเห็นว่าเป็นไปดัง ทุภาษิตที่ได้ยินพูดเล่นกันอย่างเนืองๆ
“ ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดีมีถมไป”
ผู้ประกอบกรรมดีได้ฟังคือการเกิดผัสสะย่อมเกิดทุกขเวทนามีความสึกท้อแท้ ประกอบกรรมชั่วก็ฮึกเหิมไม่เกรงกลัว แต่ตามความเป็นจริงแล้วยังคงเป็นตามกระแสของสภาวธรรมอย่างถูกต้อง
และเที่ยงตรงและคงทนต่อทุกกาลอยู่นั่นเอง
เนื่องจากยังไม่เข้าในธรรมหรือธรรมชาติหรือกฎแห่งกรรมอย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง ผู้ที่ทำกรรมดีก็มักบ่นพึมพำว่า ทำไมไม่รวย
ทำไมไม่โชคดี ทำไมเคราะห์ร้ายไม่หมดเสียที เกิดความท้อแท้
เพราะมองเห็นแต่สภาวะความเป็นไปตามความเห็นความเข้าใจของตน อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เห็นเข่าใจว่า การทำดีนั้นย่อมได้ดีอยู่เป็นที่สุด
ด้วยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องหรือคนละเหตุปัจจัยกัน
เห็นแต่ว่า ไม่เป็นไปตามความอยากหรือปรารถนาของตน
ด้วยเพราะความไม่รู้ (อวิชชา) จึงเอามาผูกเนื่องสัมพันธ์กันอย่างไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
เหมือนดังการปลูกข้าวย่อมได้ข้าว มิใช่ความร่ำรวย ความร่ำรวยหรือไม่นั้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ
ที่เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย ดังเช่น อุปสงค์อุปาทาน หรือกฎของความต้องการ อันเป็นเหตุปัจจัยคนละเรื่องกันแต่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ส่งผลถึงกันส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราเข้าใจผิดดังกล่าวจึงเกิดความท้อแท้ใจในผู้ประกอบกรรมดี แต่ถึงอย่างไรท่านก็ย่อมได้รับกรรมวิบากที่ดีอย่างแน่นอน แม้ตั้งแต่ขณะจิตนั้นแล้ว
จิตจึงไม่เร่าร้อนเผารนเป็นทุกข์ด้วยอุปาทานขันธ์แต่เกิดขึ้นและเป็นไปโดยไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง
และก็มีผลกรรมดีอื่นๆ เช่นกันเพียงแต่ดังที่กล่าวแล้วว่าป็น อจินไตย
จึงไม่รู้ไม่เข้าใจในกรรมวิบากดีที่จักเกิดขึ้นและเป็นไปเมือใดเท่านั้นเอง
ส่วนผู้ที่ประกอบกรรมชั่วนั้นก็รับผลน้นแต่บัดดลเร้เช่นกัน
เกิดการอึกเหิมทะเยอทะยานอยากแต่ล้วนเร่าร้อนเผาลนกังวลขึ้นเรื่อยๆ
โดยๆไม่รู้ตัว จึงดำเนินและเป็นไปอยู่ภายใต้ความเร่าร้อนหลบซ่อนความชั่วเหล่านั้นอยู่เนืองๆ
จนในที่สุดผลกรรมอันเป็นอจินไตยก็ตอบสนองเต็มรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน
เช่น
เป็นทุกข์ที่แสนเร่าร้อนเมื่อผุดนึกจำขึ้นมาอ้นย่อมไม่สามารถควบคุมบังคับได้ เป็นที่ตำหนิติเตียน ก่นด่า ติดคุกติดตะราง
ถูกยิงตาย หรือคดโกงกันเองในกลุ่มผู้ประกอบกรรมชั่ว
อันย่อมมีจิตที่มีกิเลสสูงอยู่แล้ว
คิดหวาดระแวงและเร้าร้อนแสวงหาเพิ่มเติม กังวลกับทุกข์ในการดูแลรักษา
จนนอนสะดุ้งผวา ฟันร้าย ยิ่งไปไหนต้องมีผู้ตุ้มกัน
อันแสดงถึงมีความกลัวกังวลในจิตอันเกิดแต่ผลของกรรมแล้วนั่นเอง ฯลฯ. และยังอาจส่งผลเป็นกิเลสหรือกรรมถึงลูกถึงหลานตามที่เรียนรู้ลอกแบบมาอีกด้วย
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนดำเนินและเป็นไปอย่างเงียบเชียบโดยไม่รู้ตัว
ถึงรู้ต้วระวังรักษาก็มิสามารถแก้ไขอะไรด้เพราะความเป็นสภาวธรรม
ต้องอยู่ในอุปาทานทุกข์ในชราอันเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายทั้งในยามตื่นและยามหลับ
และไม่มีทางที่จะหยุดหรือหลีกเลี่ยงได้เสียด้วยเพราะเป็นธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ อันเป็นกรรมวิบากส่วนหนึ่ง
ที่เผาลนยิ่งและยาวนาน เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาของชีวิต
และยังไม่จบเพียงแต่นั้น กรรมวิบากอีกส่วนหนึ่งนั้นก็ยังเกิดขึ้นอีกต่อไปอีกในลักษณะอจินไตย
คือ เกิดอุปาทานขันธ์ห้าเหล่านั้นในชราอันจักยังผลให้เกิดกรรมวิบากที่เหลือในรูปแบบต่างๆ
อีกต่อไป ดังเช่นติดคุกติดตะราง
ผู้ประกอบกรรมดีอยู่ย่อมไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งนี้ที่เกิดขึ้นและเป็นไปภายในอย่างลึกซึ้งของผู้ประกอบกรรมชั่ว
แลเห็นแต่ภาพลักษณ์ภายนอกไม่เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรมที่เป็นไป
ที่เพียงแลดูว่าน่าเป็นสุข